บทเรียนราคาแพงของคนต่างด้าวและอพยพใหม่ในอเมริกา*
โดย
ทนายความอินโต
จำพันธ์**
ในเวลาไม่นานมานี้ได้มีโทรศัพท์มาถึงผมมากมาย
ว่าทำไมรัฐบาลยังตามดำเนินคดีอาญากับ
เขาอยู่ทั้ง
ๆ
ที่เจ้าทุกข์ไม่ติดใจเอาความแล้วก็ตาม
บางคนยังเข้าใจผิดไปว่าทางรัฐบาลตั้งใจจะหาเรื่อง
กับเขาเสียด้วยซ้ำไป
ผมจึงหวังว่าบทความนี้จะช่วยอธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงการดำเนินการของรัฐ
ในเรื่องนี้ได้
ระบบกฏหมายของอเมริกันนั้นแบ่งแยกระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่งอย่างชัดเจน
ไม่เหมือนกับ
กฏหมายในอีกหลายประเทศ
ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งและคดีอาญาที่คนส่วนมากทราบกันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ
ระบบ
การพิสูจน์หลักฐาน
(Burden of proof)
ในคดีแพ่งนั้น
Plaintiff
หรือเจ้าทุกข์
(ผู้ยื่นฟ้อง)
จะต้องพิสูจน์หลักฐานของคดีได้มากกว่า
50% จึงจะชนะ
ส่วนคดีอาญานั้นทางรัฐบาลจะต้องพิสูจน์หลักฐานของคดีได้โดยไม่มีที่สงสัยอย่างมี
เหตุผล
(beyond a reasonable doubt)
ยกตัวอย่างเช่นลูกขุนในคดีอาญาของ
โอ เจ
ซิมป์สัน
มีความเห็นว่า
รัฐไม่สามารถพิสูจน์
จนไม่มีที่ต้องสงสัยอย่างมีเหตุผลว่า
โอ เจ
ซิมป์สัน
ได้กระทำการฆาตกรรมฉะนั้นเขาจึงไม่ผิด
ศาลจึงได้สั่ง
ให้ปล่อยตัวจากเรือนจำ
แต่ลูกขุนในคดีแพ่งที่ทายาทตามกฏหมายของผู้ตายเป็นผู้ฟ้อง
ซิมป์สันนั้น
เห็นว่าทายาทตามกฏหมายของผู้ตายได้พิสูจน์หลักฐานเกินกว่า
50 % ของคดี
ลูกขุนจึงลง ความเห็นว่าซิมป์สันมีความผิดและต้องจ่ายเงินให้กับทายาทตามกฏหมายของผู้ตาย
ความแตกต่างระหว่างคดี
2
ประเภทนี้ที่ไม่ค่อยจะทราบกันก็คือคู่กรณีที่มีส่วนในคดี
โดยทั่ว ๆ
ไปแล้ว
คดีอาญาเป็นคดีที่รัฐทำการฟ้องผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่ก่ออาชญากรรม
ในคดี
อาญาส่วนใหญ่รัฐมีวัตถุประสงค์ในการเก็บตัวผู้ถูกกล่าวหาไว้ในห้องขัง
หรือทำการจองจำผู้ถูกกล่าวหา
ที่ยังไม่ถูกควบคุมตัว
ส่วนคดีแพ่งโดยทั่วไปนั้นเป็นคดีที่ผู้เสียหายทำการฟ้องร้องจำเลยเพื่อเรียกร้อง
ค่าชดเชยความเสียหายเป็นเงิน ในบางครั้งทนายความทั่วไปของรัฐอาจเป็นผู้ทำการฟ้องแพ่งในฐานะตัว
แทนของประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากกรณีเดียวกันแต่ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย
หรือค่าใช้
จ่ายสูงเกินไปถ้าแยกดำเนินคดีเป็นรายย่อยแต่ละราย
เนื่องจากรัฐเป็นผู้เริ่มการฟ้องทางคดีอาญา
คดีนั้นก็จะยังคงดำเนินต่อไปถึงแม้ผู้เคราะห์ร้าย
ในคดีไม่ต้องการเอาความถ้ารัฐไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้เคราะห์ร้ายเป็นผู้
พิสูจน์คดี ยกตัวอย่างเช่น
ถ้ามีชายคนหนึ่งเดินเข้าไปในไนท์คลับ
พบภรรยาของตนกับชายชู้
จึงชักปืน
ออกมายิงภรรยาต่อหน้าคนลูกค้าอื่น
ๆ
ในร้านแต่ยิงไม่ถูก
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึง
ภรรยาและลูกค้า
ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ชายผู้นั้นถูกจับกุมในข้อหาพยายามฆ่าและถูกนำเข้า
ห้องขัง
ต่อมาภรรยาเกิดความรู้สึกผิดและต้องการให้สามีได้รับการปล่อยตัวจากห้องขัง
เธอจะทำอย่าง
ไรได้บ้าง?
ทำได้ไม่มากนัก!
รัฐอาจไม่เห็นด้วยกับการยกฟ้องคดีเนื่องจากคดีนี้มีพยานอื่นร่วมด้วย
(มีลูกค้าอื่น
ๆ
ในร้านเป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์)
จะเป็นอย่างไรถ้าชายผู้นี้ยิงภรรยาหลังจากที่ภรรยากลับมาถึงบ้านและไม่มีผู้รู้เห็น?
ถ้าภรรยา
ได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันทีหลังเกิดเหตุ
แต่ต่อมาได้เกิดความรู้สึกผิดและไม่ต้องการดำเนินคดีกับ
สามี
รัฐอาจออกหมายเรียกให้ภรรยามาให้การเป็นฝ่ายตรงข้ามกับสามี
ถ้าภรรยาปฏิเสธเธออาจถูก
ข้อหาหมิ่นประมาทศาลซึ่งเป็นโทษคดีอาญา
แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้น้อยที่รัฐจะดำเนินคดีต่อไปโดยไม่
มีหลักฐานอื่น
ๆ
ประกอบนอกเหนือจากนี้จะเป็นอย่างไรถ้าชายผู้นี้เตะภรรยาตนเองทำให้ภรรยานิ้วหักหลังจากที่เธอกลับมาบ้านโดยที่ไม่
มีผู้รู้เห็นในเหตุการณ์
รัฐอาจดำเนินคดีเพราะมีหลักฐานคือนิ้วที่หักของภรรยาและมีคำให้การที่เธอได้
ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันทีหลังจากเกิดเหตุ
อย่างไรก็ตามปัญหาที่มักจะพบเริ่มจากคู่สมรสโทรศัพท์หาตำรวจและแต่งเรื่องแจ้งความว่าถูก
อีกฝ่ายตบตีหลังจากที่ได้มีปากเสียงกันอย่างรุนแรง
หลังจากตำรวจสอบปากคำแล้วก็นำตัวอีกฝ่ายเข้า
ห้องขังภายหลังคู่สมรสที่เป็นผู้แจ้งความเกิดความรู้สึกผิดและอยากถอนคดีแต่ในระหว่างนันอัยการ
ได้ยื่นเรื่องส่งฟ้องไปแล้ว ในกรณีนี้คดีนี้ก็อาจจะกลายเป็นบทเรียนราคาแพงของครอบครัวได้
รัฐบาลถือว่าคดีทำร้ายร่างกายในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญมาก
ในเมืองใหญ่
ๆ บางเมืองเช่น
ลอสแอนเจลิส
สำนักงานอัยการมอบหมายให้มีหน่วยงานพิเศษที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ในการรับผิดนั้น ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเข้ารับการอบรมโดยต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
นอกจากนั้นยังต้องเสีย
เวลาทำงานรับใช้สังคมและไปรายงานตัวที่ศาลบ่อย
ๆ
ถึงแม้จะเป็นการรับผิดครั้งแรกก็ตาม
รวมทั้งยัง
ต้องจ่ายค่าปรับที่แพงและยังต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายของรัฐในการดำเนินคดีนี้ด้วย
ถ้าคู่สมรสที่ถูกกล่าวหา
ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันและเคยรับผิดในคดีอื่น
ๆ
รวมทั้งคดีที่ไม่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้
ผู้นั้นอาจถูก
เนรเทศได้
*บทความนี้เป็นบทความทั่วไป
และไม่ได้พยายามให้คำแนะนำด้านกฏหมายแก่ผู้อ่าน
หรือพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทนายความและลูกความ
ถ้าต้องการคำแนะนำด้านกฏหมาย
ผู้อ่านควรปรึกษาทนายความโดยระบุคำถามให้ชัดเจน